วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

10 คำสำคัญทางด้านทัศนศิลป์


1.ทัศนศิลป์(Visual Art) คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม
มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทัศนศิลป์คือการรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมุติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตามทัศนศิลป์เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทางจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะทัศนา งานศิลป์ นั้น
แนวคิดทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมอง ได้แก่ รูปภาพทิวทัศน์ทั่วไป รูปภาพคนเหมือน ภาพล้อ ภาพสิ่งของต่างๆ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของทัศนศิลป์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้ากล่าวว่าทัศนศิลป์เป็นความงามทางศิลปะที่ได้จากการมอง หรือ ทัศนา นั่นเอง

2.การวาดเส้น (Drawing) เป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และการออกแบบ เป็นการสร้างภาพสองมิติโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ให้เกิดร่องรอยต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ ดินสอ ปากกาและหมึกเครยองดินสอสี ดินสอถ่าน ชอล์ก ชอล์กสี
ปากกามาร์กเกอร์ ปากกาหมึกซึม ซึ่งโดยมากจะเขียนลงบนกระดาษ หรือวัสดุอื่นอย่าง เช่น กระดาษแข็ง พลาสติก หนังผ้ากระดาน ฯลฯ

3.จิตรกรรม (Painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด การระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่นๆ เพื่อให้เกิดภาพสองมิติ โดยจะไม่มีความลึกหรือนูนหนามากนัก งานจิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกรจอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของงานจิตรกรรมไว้ว่า “งานจิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น”
นอกจากนี้ในพจนานุกรมศัพท์ ได้อธิบายถึงงานจิตรกรรมไว้ว่า งานจิตรกรรมเป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด ด้วยวัสดุทางจิตรกรรม

4.ประติมากรรม (Sculpture)เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น การแกะสลัก การหล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรงสามมิติ ที่มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ ได้ อาทิ เรื่องราวเกี่ยวกับสภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์ โดยผ่านกระบวนการสร้างงานทางประติมากรรม งานประติกรรมถือเป็นแขนงหนึ่งของงานทัศนศิลป์ โดยผู้ทำงานประติมากรรม จะเรียกว่า ประติมากรงานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร
งานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของความลึก ได้แก่
* ประติมากรรมนูนต่ำ
* ประติมากรรมนูนสูง
* ประติมากรรมลอยตัว
นอกจากนี้ยังมีงานประติมากรรมที่เป็นลักษณะโมบาย ที่แขวนลอยอยู่และเคลื่อนไหวได้ และงานประติมากรรมที่ติดตั้งชั่วคราว ที่เรียกว่า ศิลปะจัดวาง(Installation Art)

5.ภาพพิมพ์แกะไม้ (Wood Cut) คือศิลปะการพิมพ์แบบนูน (Relief Printing) โดยแกะภาพที่จะใช้พิมพ์ลงบนผิวไม้ก่อน ส่วนที่จะปรากฏบนภาพพิมพ์จะเป็นระดับเดียวกันกับระนาบของไม้ ส่วนอื่นที่ไม่ต้องการจะให้เกิดเป็นภาพก็จะแกะลึกลงไปด้วยสิ่ว เมื่อพิมพ์ภาพออกมาส่วนนี้ก็จะเป็น “สีขาว”ส่วนไม้ที่เหลือไว้เมื่อพิมพ์ออกมาก็จะกลายเป็นรูปภาพ ในยุโรปไม้ที่ใช้ส่วนใหญ่จะใช้เป็นไม้บีช ส่วนในประเทศญี่ปุ่นจะใช้เป็นไม้เชอร์รีโดยในกระบวนการพิมพ์ก็จะกลิ้งหมึกพิมพ์ด้วยลูกกลิ้งมือ
ทำให้หมึกเกาะบริเวณที่ต้องการจะพิมพ์แต่ไม่เกาะในส่วนที่เป็นร่องลึกลงไป ของแม่พิมพ์
ส่วนการพิมพ์หลายสีก็ใช้แม่พิมพ์ไม้หลายๆแม่พิมพ์โดยแต่ละแม่พิมพ์ก็จะใช้สีแตกต่างกันไป

6.ภาพพิมพ์หิน (Lithography)“ Lithography ” มาจากภาษากรีกว่า (lithos) ที่แปลว่า “หิน” สมาสกับคำว่า (grapho) ที่แปลว่า “เขียน” คือเทคนิคการพิมพ์ที่ใช้หินปูนเป็นแม่พิมพ์ (Lithographic Limestone)
หรือใช้แผ่นโลหะที่มีผิวเรียบเป็นแม่พิมพ์ เทคนิคการพิมพ์แบบนี้จะใช้คุณลักษณะความไม่เข้ากันของน้ำมันหรือไขมันกับน้ำ เพราะน้ำจะไม่เกาะตัวในบริเวณที่เป็นไขมัน ภาพพิมพ์หินเป็นเทคนิคที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยนักเขียนชาวบาวาเรีย อล็อยส์ เซอเนอเฟลเดอร์ในปี ค.ศ. 1796 เพื่อใช้เป็นการลดต้นทุนในการพิมพ์งานศิลปะ ภาพพิมพ์หินสามารถใช้ในการพิมพ์ตัวอักษรหรืองานศิลปะบนกระดาษหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสมในปัจจุบันหนังสือส่วนใหญ่ หรือหนังสือที่พิมพ์เป็นจำนวนมากๆทั้งหมดจะใช้วิธีพิมพ์ที่เรียกว่า “ OffsetLithography”

7.ภาพเหมือนตนเอง(Self-Portrait) คือภาพเหมือนของตัวศิลปินเอง ไม่ว่าจะเกิดจากการเขียนด้วยสี, การถ่ายภาพ หรือการแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริงๆ จนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งสามารถผลิตกระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำให้การเขียนภาพเหมือนในงานจิตรกรรมมีการทำกันแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ ผลงาน “ภาพเหมือนชาย (ภาพเหมือนตนเอง?)”วาดโดย ยาน ฟาน เอค(Jan Van Eyck) ในปี ค.ศ. 1433
ซึ่งเป็นภาพเหมือนตนเองภาพแรกที่มีหลักฐานให้เห็น อีกภาพหนึ่งที่ เขาเขียนเป็นภาพของภรรยาของเขา นอกจากนั้นเขาก็ยังเป็นสมาชิกของกลุ่มที่เริ่มจะรับงานเขียนภาพเหมือนโดยทั่วไป อันมีผู้ว่าจ้างเป็นกลุ่มผู้มีอันจะกินชาวเนเธอร์แลนด์ แต่ก็มิได้เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปจนกระทั่งมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) เมื่อผู้คนมีฐานะมั่งคั่งมากขึ้น จึงให้ความสนใจในการใช้ตัวเองเป็นแบบในการเขียนภาพเพิ่มมากขึ้น

8.สื่อผสม (Mixed Media) เป็นการนำสื่อมากกว่าสองสื่อ หรือศิลปะมากกว่าสองแขนงมารวมกันขึ้นเป็นงานชิ้นเดียวกัน นิยมใช้สื่อที่แตกต่างกัน โดยนำจุดเด่นของแต่ละสื่อมาใช้ร่วมกัน เช่นการสร้างงาน ที่ใช้ทั้งงานประติมากรรมและงานจิตรกรรมมาผสมผสานเข้าเป็นการงานชิ้นเดียวกัน ที่ทำให้ผลงานจิตรกรรมอันมีลักษณะเป็นสองมิติกลายเป็นงานที่มีลักษณะเป็นสามมิติ เมื่ออยู่ร่วมกันกับผลงานประติมากรรม

9.ศิลปะจัดวาง(Installation Art) หมายถึงประเภทของงานศิลปะที่มีที่ตั้งเฉพาะจุด, เป็นงานสามมิติ ที่ออกแบบเพื่อที่จะแปรสภาพการรับรู้ของสิ่งแวดล้อม (Perception of a Space)โดยทั่วไปแล้ว “ศิลปะจัดวาง” จะหมายถึงศิลปะภายในตัวสิ่งก่อสร้าง ถ้าตั้งอยู่ภายนอกก็มักจะเรียกว่า “ศิลปะภูมิทัศน์” (Land
Art)และศิลปะสองประเภทนี้คาบเกี่ยวกัน ศิลปะจัดวางอาจจะเป็นได้ทั้งศิลปะที่ติดตั้งอย่างถาวรหรือเพียงชั่วคราวก็ได้ ศิลปะจัดวางได้รับการติดตั้งในการแสดงงานนิทรรศการศิลปะ เช่น ในพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ หรือในบริเวณสถานที่ส่วนบุคคลหรือสถานที่สาธารณะ ประเภทของงานก็ครอบคลุมตั้งแต่การใช้วัสดุที่พบโดยทั่วไป ที่มักจะเลือกสรรจากวัสดุที่ทำให้เกิดผลกระทบกับอารมณ์ รวมไปถึงวัตถุสมัยใหม่เช่นวิดีโอ,เสียง,การแสดง,และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ศิลปะจัดวางหลายชิ้นเป็นศิลปะเฉพาะที่ (Site-Specific Art)ซึ่งหมายความว่าเป็นงานที่ออกแบบให้ติดตั้งตรงตำแหน่งหรือสถานที่ที่สร้างงานศิลปะโดยเฉพาะเท่านั้น

10.ศิลปะเชิงแนวความคิด(Conceptual Art) คือศิลปะที่เน้นในเรื่องของแนวความคิด (Concept) เป็นหลักในการสร้างงาน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับความงามแต่เพียงอย่างเดียว ฉะนั้นงานหลายๆชิ้นที่สร้างขึ้นบางครั้งก็อาจจะมีลักษณะที่แตกต่างจากงานศิลปะโดยทั่วไปเช่น ไม่อาจจำแนกประเภทของผลงานศิลปะลงไปได้อย่างจำเพาะเจาะจงได้ หรือ ในบางครั้งผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้เกิดจากการลงมือทำของศิลปินเลย หากเกิดขึ้นโดยผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้โดยการทำตามคำสั่งของศิลปินที่ระบุไว้ให้
ยกตัวอย่างคำนิยามของ “ศิลปะเชิงแนวความคิด”ของซอล เลวิทท์ (Sol Lewitt) ที่ว่า:“การสร้างศิลปะเชิงแนวคิด ความคิดหรือแนวคิดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสร้างงาน เมื่อศิลปินใช้รูปลักษณ์ของศิลปะเชิงแนวคิดก็จะหมายความว่าการวางแผนและการตัดสินใจที่จะสร้างงานได้รับการทำไปแล้วการสร้างงานจริงจึงเป็นการทำอย่างเป็นพิธีเท่านั้น ความคิดกลายมาเป็นเครื่องมือในการสร้างงานศิลปะ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น