วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

What is Art?

ศิลปะ คืออะไร ?

หากจะถามถึงความหมายที่แท้จริงของ "ศิลปะ" แน่นอนที่สุดเราจะพบว่า มีความหมายแตกต่างแยกกันออกไปหลายความหมายด้วยกัน ซึ่งแล้วแต่ว่าบุคคลนั้นๆ จะมองศิลปะในแง่มุมใด ภายใต้หลักการหรือทฤษฎีใด ซึ่งมุมมองที่ต่างกันนี้เอง ทำให้เราได้คำนิยามของศิลปะที่แตกต่างกันออกไป
อย่างไรก็ตาม ฮาโรลด์ เอ็ช ติตุส (Harold H. Titus) ได้ค้นคว้า และรวบรวมทฤษฎีศิลปะ (Theories of Art) ไว้ซึ่งพบว่ามีทั้งหมด 7 ทฤษฎีด้วยกัน ซึ่งการให้ความหมายของศิลปะก็แตกต่างกันไปตามแนวคิดหลักของทฤษฎีดังกล่าวนี้ ซึ่งทฤษฎีศิลปะทั้ง 7 ทฤษฎี มีดังต่อไปนี
1. ศิลปะ คือ การเลียนแบบ (Art as Imaitation)
ทฤษฎีนี้เป้นทฤษฎีเก่าแก่ มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ โดยมีพื้นฐานความคิดมาจากเพลโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) ซึ่งถือว่าการเลียนแบบวัตถุธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน จัดว่าเป็นสิ่งสวยงามที่สุด ดังนั้นความคิดแก่นของทฤษฎีนี้ การเลียนแบบวัตถุธรรมชาติอะไรบางอย่าง การเลียนแบบที่ปรากฏออกมาก็คือศิลปะ นั่นเอง
2. ศิลปะ คือ ความพึงพอใจ (Art as Pleasure)
ทัศนะนี้มองว่า ศิลปินคือบุคคลซึ่งพึงพอใจในความงามและใช้เวลาของเขาสร้างสิ่งสวยงาม ศิลปินจึงพึงพอใจในงานของตัวเอง และยังหวังให้บุคคลอื่นพึงพอใจในผลงานของตนด้วย ดังนั้น ความหมายของศิลปะก็คือ การให้ความพึงพอใจทางสุนทรียะ
3. ศิลปะคือการเล่น (Art as Play)
ความคิดที่ว่า ศิลปะคือรูปแบบของการเล่นนี้ เริ่มจากแนวคิดของ คานต์ (Kant) จากนั้นชิลเลอร์ (Schiller) นำมาปฏิบัติ และสเปนเซอร์ (Spencer) นำไปพัฒนาต่อไปจนกลายเป็นทฤษฎีที่เรียกกันว่า "Spieltrieb" หรือเรียกว่า ทฤษฎีแรงกระตุ้นให้เล่น ทั้งนี้ การเล่นนั้นถือว่าเป็นการแสดงออกที่เกิดจากชีวิตจิตใจจิงต่างไปจากกิจกรรมที่เป็นงาน (Work) ของมนุษย์แต่ให้ความพึงพอใจสูง
สเปนเซอร์ ถือว่า ศิลปะคือการแสดงออกของพลังงานส่วนเกินเช่นเดียวกับการเล่น ศิลปะก็คือการแสดงออกซึ่งเกิดขึ้นเองของพลังที่สำคัญแก่ชีวิต ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่ไม่คำนึงถึงประโยชน์
4. ศิลปะ คือ อันตรเพทนาการ (Art as Empathy)
อันตรเพทนาการ หมายถึง ท่าทีของประสาทที่รู้สึกคล้อยตามซึ่งเกิดกับผู้กำลังชมศิลปวัตถุ ทั้งนี้ อันตรเพทนาการเป็นการสร้างจินตนาการของผู้ชมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับศิลปวัตถุ โดยการถ่ายทอดความรู้สึกและการตอบสนองของผู้ชมลงไปในศิลปวัตถุ

5. ศิลปะ คือ การสื่อสาร (Art as Communication)
นักปราชญ์จำนวนมากคิดว่า การสื่อสารเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แท้จริงแล้วเป็นหัวใจของศิลปะ ซึ่ง เลโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) กล่าวไว้ว่า "...ศิลปะ คือการสื่อสารของอารมณ์ที่เกิดขึ้นแก่บุคคลหนึ่งให้แก่บุคคลอื่นๆ ที่มีอารมณ์อย่างเดียวกัน โดยการใช้เส้น สี เสียง การเคลื่อนไหว หรือคำพูด อารมณ์ยิ่งรุนแรงเพียงใด ศิลปะก็ยิ่งดีเพียงนั้น..."
6. ศิลปะ คือ การแสดงออก (Art as Expression)
ทฤษฎีนี้ถือว่า วัตถุประสงค์ของศิลปะอยู่ที่การแสดงอารมณ์ภายในของมนุษย์ออกมาให้ปรากฏ แม้ว่า ศิลปะเป็นการแสดงออกซึ่งอารมณ์ก้ตาม แต่การแสดงอารมณ์ทุกอย่างก็มิได้เป็นศิลปะไปเสียทั้งหมด
7. ศิลปะ คือ คุณลักษณะของประสบการณ์ (Art as a Quality of Experience)
จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) กล่าวว่า ศิลปะคือคุณลักษณะซึ่งแทรกอยู่กับประสบการณ์ ซึ่งพบได้ในประสบการณ์ทั่วไปของเรานี่เอง ลักษณะทางสุนทรีย์มีอยู่ในประสบการณ์ทั่วไปทั้งหมด

ดังที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ความหมายของศิลปะมีความแตกต่างแยกออกไปได้อย่างน้อย 7 ความหมาย ตามหลักแนวคิดหรือทฤษฎีที่ยกมากล่าวข้างต้น ส่วนใครจะเห็นด้วยกับแนวคิดหรือทฤษฎีใดก็สุดแท้แต่ทัศนะของแต่ละบุคคลว่ามีการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นศิลปะมาเช่นไรบ้าง มีประสบการณ์ด้านศิลปะมาอย่างไร และต่อไปก็ไม่แน่ว่า เมื่อมีผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับศิลปะมากขึ้น อาจมีทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับศิลปะเกิดขึ้นอีกก็ได้ และนั่นหมายความว่า ความหมายของศิลปะก็สามารถขยายจำนวนความหมายออกไปได้อีกเช่นกัน

เอกสารอ้างอิง :
มานพ รักการเรียน.มนุษย์กับการใช้เหตุผล จริยธรรม และสุนทรียศาสตร์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2545.
Harold H. Titus. Living Issues in Philososhy. New York : U.S.A.,1964.

ที่มาของข้อมูล http://www.oknation.net/blog/print.php?id=265429

คุณค่าของศิลปะไทย


จะว่าผู้สอนเป็นพวกนิยมคลั่งชาติ หรือจะว่าสร้างกระแสให้คนรักชาติ รักศิลปะไทยก็ยอม
ในเรื่องความหมายของศิลปะไทย นักศึกษาหลายคน คงบอกได้แล้วว่าหมายถึงอะไร โดยไม่ต้องให้เรียนจบวิชานี้ก่อนถึงจะรู้ความหมาย
มีผู้รู้หลายท่านให้คำนิยามที่แตกต่างและเหมือนหรือสอดคล้องกันไปต่าง ๆ นานา ตามประสบการณ์ที่ตนเองได้ปะทะสัมพันธ์ด้วย แต่ถ้าเป็นความคิดเห็นของครู เห็นว่าศิลปะไทย คือสิ่งที่คนไทยสร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของตน จากบริบทของสังคม บ่งบอกถึงลักษณะของความเป็นไทย
ทำไมต้องคนไทยเท่านั้นหรือที่สร้างขึ้น ฝรั่งได้หรือไม่ที่สร้างศิลปะไทย
ได้ แต่อาจจะขาดวิญญาณ ในที่นี้เราเรียนรู้ศิลปะไทย จากบรรพบุรุษที่เป็นคนไทยสร้างขึ้น เรามีฐานการรับรู้ว่า ศิลปะไทยคือศิลปะประจำชาติ ที่ถูกสั่งสมความดีงามมาด้วยคนไทยด้วยกันเอง ถ่ายทอดมาแล้วครั้งแล้วครั้งเล่า
เพราะฉะนั้น จึงให้ความสำคัญว่าคนไทยสร้างขึ้นด้วยหัวใจและวิญญาณแห่งความเป็นไทย
จะว่าผู้สอนเป็นพวกนิยมคลั่งชาติ หรือจะว่าสร้างกระแสให้คนรักชาติ รักศิลปะไทยก็ยอม
หากนักศึกษามีข้อความคิดเห็นแตกต่าง ถือว่าเป็นสิ่งดี
พูดถึงลักษณะความเป็นไทย ค่อนข้างกว้างมากว่า อะไรบ้างที่แสดงความเป็นไทย ในทางทัศนศิลป์ ความเป็นไทยจะเกี่ยวข้องกับการมอง(Looking) การเห็น (Seeing) มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย พูดให้โก้ว่ามีอัตลักษณ์ของตนเอง(Self-identification)
เอกลักษณ์ของศิลปะไทย จะแสดงความรู้สึกอ่อนหวาน นุ่มนวล ละเอียด วิจิตรประณีตบรรจง มีเหตุผลในการแสดงออก มีความยั่งยืนในการถ่ายทอด คือมีระเบียบแบบแผนเฉพาะตน เช่น บอกได้ว่ามีที่มามาจากอะไร มีแหล่งบันดาลใจจากสิ่งใด เป็นต้น
ส่วนประเภทศิลปะไทยโดยทั่วไป จะพูดถึงงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับจิตรกรรมไทย ประติมากรรมไทย สถาปัตยกรรมไทย วรรณกรรมไทยและนาฏดุริยางค์กรรมไทย
ลักษณะ รายละเอียดแต่ละประเภทมีงานอะไร เป็นนักศึกษาเอกศิลปะไม่รู้คงเป็นไปไม่ได้
เมื่อคราวที่แล้วพูดถึงเรื่องสิ่งที่เป็นประจำชาติ ประจำถิ่นได้นั้น ต้องผ่านการลองผิดลองถูก ถูกด่า ถูกวิจารณ์ ถูกการสังเคราะห์ มีการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งจนตกเป็นผลึก เป็นอัตลักษณ์ของตัวเอง ในที่นี้หมายถึงความเป็นชาติ กระทั่งทำให้คนในสังคมนั้นเกิดการยอมรับได้ เห็นได้ทั้งรูปแบบ เนื้อหาและคุณค่า
แล้วคุณค่าของศิลปะไทยดูได้จากอะไร มิติใดบ้าง
ถ้าพูดถึงคุณค่า (Value) คือสิ่งที่เป็นของมีค่า เป็นประโยชน์ เป็นที่นิยม ราคาแพง อันนี้เรามองตามมิติด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ตีค่าสิ่งของเป็นผลกำไรหรือผลประโยชน์
แต่ถ้าเป็นมิติคุณค่าทางศิลปะ จะเกี่ยวข้องกับความงาม ความมีสุนทรียะ ความดีงามที่ไม่ต้องการผลกำไรหรือตอบแทนมากกว่าความสนองตอบทางจิตใจ จะตีค่าออกมาเป็นราคาค่างวดไม่ได้
เราจึงมักได้ยินว่าศิลปินไส้แห้งกันมานาน
แต่ในปัจจุบัน การสนองตอบทางจิตใจอย่างเดียวคงทำให้ศิลปินไส้แห้งจริง ๆ หากไม่มีการประยุกต์ใช้ ระหว่างคุณค่าทางความดีงามกับผลประโยชน์ที่ได้รับจากความงาม
อย่างไรก็ตามคุณค่าของศิลปะไทย มีนักวิชาการทางศิลปะ และ ศิลปินมองคุณค่าแตกต่างกัน เช่น มองจิตรกรรมไทยเป็นคุณค่าทางเรื่องราว คุณค่าทางรูปทรง คุณค่าทางธรรมชาติ
เมื่อประมวลถึงการมองคุณค่าของศิลปะไทยแล้ว การแสดงออกของเรื่องราว รูปทรงต่าง ๆ จะเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ความงาม ประโยชน์ใช้สอยและความรู้สึกที่เกิดขึ้น
คุณค่าทางความเชื่อ สังคมไทยไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใด แสดงออกในเรื่องราวของความเชื่ออยู่ทุกมิติของสังคม ซึ่งผูกพันอยู่กับความเชื่อเรื่องผี เรื่องศาสนา เรื่องกฎแห่งกรรม บันดาลใจให้ผู้สร้างผลิตออกมาเป็นพิธีกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และงานศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ สืบทอดต่อกันมา ให้ประโยชน์ต่อชุมชนต่อตนเอง เกิดผลดีในการดำรงชีวิต ช่วยกระตุ้นให้คนเกิดความรักชาติ รักสถาบัน ประพฤติตนอยู่ในกรอบของจารีต พระธรรมคำสั่งสอน เช่น ภาพเกี่ยวกับนรก สวรรค์ เรื่องชาดก เป็นต้น
คุณค่าทางความงามหรือสุนทรียะ เป็นพื้นฐานสำคัญของผู้สร้างหรือศิลปินมาทุกยุคทุกสมัย การที่จะสร้างสรรค์ศิลปกรรมสักอย่างหนึ่ง ผู้นั้นต้องมีแรงบันดาลใจจากเรื่องของความเชื่อ และความงามที่ตนเองมองสิ่งนั้น ๆ อยู่ ศิลปินไม่ได้มองสิ่งที่ตนเองสนใจเพียงผิวเผิน แต่มักจะมองสิ่งนั้นอย่างตั้งใจ เราถือว่า ศิลปินเป็นผู้เห็นสิ่ง ๆ นั้นได้มากกว่าคนทั่วไป
ศิลปินจะเห็นความงามจาการเป็นไปเลื่อนไหลของเส้น รูปร่าง รูปทรง สีสันที่ตนมองเห็น มา สร้างให้เกิดงานที่วิจิตรบรรจงและความสมบูรณ์ขึ้นในภาพจิตรกรรม ในวัดที่มีชื่อเสียงเช่นวิหารลายคำวัดพระสิงห์ วัดภูมินทร์ และวัดอื่น ๆ ที่แสดงงานจิตรกรรมบนฝาผนัง แสดงให้เห็นการดำเนินชีวิตในสมัยก่อน เห็นเรื่องบาป บุญคุณโทษของการประพฤติปฏิบัติ โดยมีฐานของความเชื่อผนวกกับการมองความงามต่อสิ่งรอบข้างของศิลปิน ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพให้คนในสมัยนี้ได้เรียนรู้กัน
พูดถึงความมีสุนทรียะ ของศิลปินและคนในสมัยก่อนกับสมัยปัจจุบัน มีความกล้าในการแสดงออกต่างกัน เรามักเห็นภาพกิจกรรมทางเพศบนฝาผนังวัดอยู่หลายแห่ง หรือกิจกรรมของชุมชนในยุคที่ศิลปินนั้นสร้างขึ้น ในขณะที่ศิลปินหรือคนยุคนี้ยังไม่กล้าพอที่จะบันทึกภาพกิจกรรมทางสังคมยุคนี้ไว้บนผนังวัด เพราะด้วยการไม่ยอมรับความจริงของคนในสังคม เราจึงเรียนรู้กับสิ่งที่เป็นอดีตกันค่อนข้างมาก
คุณค่าทางด้านประโยชน์ใช้สอย เป็นเรื่องสามัญสำนึกของผู้สร้างงานศิลปกรรม ที่มองถึงประโยชน์ใช้สอยและการสนองตอบต่อความสะดวกสบายของคนในชุมชนและตนเอง ไม่มีศิลปินหรือผู้สร้างคนใดอดทนจากการถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ตนเองไม่เห็นประโยชน์ได้นาน
อย่างน้อยความคิดที่ถูกกลั่นให้เป็นงานศิลปกรรมจะแสดงหรือแฝงเร้นในงานนั้น ๆ มีให้เห็นอยู่เสมอ เช่น ท่าทางตลกขบขันในงานจิตรกรรมแทรกในภาพชาดก การคิดลวดลายต่าง ๆ ประดับในมุมของประติมากรรม สถาปัตยกรรม เป็นต้น
คุณค่าทางความรู้สึก งานศิลปะทุกประเภทส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับความงามที่ให้ความรู้สึกต่าง ๆ แทบทั้งสิ้น ศิลปินผู้สร้างสามารถกำหนดให้ภาพที่แสดงออกนั้นมีความรู้อย่างไร เมื่อมีผู้ เช่น เรามองภาพหลายภาพเรารู้สึกเกลียดชังตัวตนที่ถูกถ่ายทอดออกมา อย่างเราเกลียดภาพชูชกเฒ่าที่มีแต่ตัณหาราคะปฏิบัติต่อพระกัณหาพระชาลี อย่างทรมาน เราศรัทธาเลื่อมใสต่อองค์พระปฏิมา เพราะถ่ายทอดออกมาอย่างงดงามลงตัว เราเห็นภาพพระ ภาพนาง ภาพยักษ์ ล้วนมีความรู้สึกที่แตกต่างกันไป เป็นต้น
บางคนและหลายคนมองความงามศิลปะไทยที่เป็นนามธรรมนั้นมีเพียงสองมิติ ไม่เหมือนธรรมชาติ มีเส้นโค้งไม่หลากหลาย สู้ความงามที่เป็นธรรมชาติหรือเป็นรูปธรรมอย่างศิลปะตะวันตกไม่ได้
คุณค่าทางความรู้สึกในงานศิลปะไทย จึงเป็นคุณค่าของจิตที่ถูกกระทบด้วยการมองและการเห็นโดยตรง แล้วถูกวินิจฉัยด้วยสมองตามประสบการณ์ ความรู้ สิ่งแวดล้อมของผู้นั้นนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม คุณค่าทางศิลปะไทย ไม่จำกัดเฉพาะเพียงที่กล่าวมา คุณค่าอาจจะเปลี่ยนไปตามกระแสของสังคม และความต้องการของคนหมู่ใหญ่ โดยเฉพาะการคิดก้าวหน้าจนหลุดโลก จะทำให้ศิลปะไทยถูกประยุกต์ไปสนองตอบต่อระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ง่าย
แต่เราฐานะผู้เรียนรู้ ผู้ศึกษาศิลปะไทยจากความดีงามในอดีต จะช่วยดำรงสถานะ ลักษณะความเป็นตัวตนของศิลปะไทยได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจ การรับรู้เห็นคุณค่าของศิลปะไทยที่ไม่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็น”ไท”และความเป็นตัวของตัวเราเอง
สรุปจากการบรรยายวิชาศิลปะไทย อ.ศักราช ฟ้าขาว

คุณค่าและความหมายของศิลปะ


คุณค่าและความหมายของศิลปะ
คุณค่าและความหมายของศิลปะ

ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายทั้งกว้างและจำเพาะเจาะจง ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ทัศนะของแต่ละคนแต่ละสมัยที่จะกำหนดแนวความคิดของศิลปะให้แตกต่างกันออกไป หรือแล้วแต่ว่าจะมีใคร นำคำว่า "ศิลปะ" นี้ไปใช้ในแวดวงที่กว้างหรือจำกัดอย่างไร

ศิลปะ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ในสมัยโบราณ นักปราชญ์ได้ให้ความหมายของศิลปะ (Art) ไว้ว่า ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น ต้นไม้ ภูเขา ทะเล น้ำตก ความงดงามต่าง ๆ ตามธรรมชาติจึงไม่เป็นศิลปะ ดอกไม้ที่เห็นว่าสวยสดงดงามนักหนา ก็ไม่ได้เป็นศิลปะเลย ถ้า หากเรายึดถือตามความหมายนี้แล้ว สิ่งที่มนุษย์สร้างสร้างขึ้นทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด ภาพพิมพ์ งานปั้น งานแกะสลัก เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ เครื่องใช้สอย ตลอดจนถึงอาวุธที่ใช้รบราฆ่าฟันกัน ก็ล้วนแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้นไม่ว่ามนุษย์สร้างสิ่งที่ดีงาม เลิศหรูอลังการ หรือน่าเกลียดน่าชังอย่างไรก็ตาม ล้วนแต่เป็น งานศิลปะอย่างนั้นหรือไม่ ?

ศิลปะเป็นผลงานการสร้างสรรค์
ในสมัยต่อมา มีผู้ให้ความหมายของศิลปะว่า ศิลปะเป็นผลงานการสร้างสรรค์ ซึ่งในความหมาย นี้ เราต้องมาตีความหมายของคำว่า "การสร้างสรรค์" กันเสียก่อน การสร้างสรรค์ หรือที่ภาษา อังกฤษเรียกว่า "Cerative" นั้น คือ การทำให้เกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา ซึ่งบางสิ่งบางอย่างนั้นไม่เคยมีอยู่มาก่อน ทั้งที่เป็นผลิตผล หรือกระบวนการ หรือความคิด ดังนั้น สิ่งที่จะเป็นงานสร้าง สรรค์ได้จะต้องเป็นประดิษฐ์กรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก หรือเป็นกระบวนการใหม่ ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อกระทำการบางสิ่งบางอย่างให้ประสบผลสำเร็จ หรือเป็นการสร้างแนวคิดใหม่ ที่จะนำไปสู่วิธีการใหม่ ๆ แนวคิดใหม่ ๆ นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ เพราะแนวคิด ใหม่ จะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการ หรือวิธีการใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่ผลผลิตหรือประดิษฐ์กรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นมาในโลก และตอบสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ได้ เพื่อแทนที่
ผลผลิต หรือประดิษฐ์กรรมเดิม ที่ตอบสนองได้ไม่พอเพียงหรือไม่เป็นที่พอใจ การสร้างสรรค์ใน อีกความหมายหนึ่งจึงเกิดขึ้น คือเป็นการทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมซึ่งมีหลาย ๆ วิธี โดยอาจเป็นการปรับปรุงกระบวนการใหม่ให้ได้ผลผลิตมากกว่าเดิมหรือเป็นการปรับปรุงรูปแบบผลผลิตใหม่ โดยใช้ วิธีการเดิมแต่ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้นแต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม
เป็นการกระทำให้เกิดขึ้น จากการใช้แนวคิดแบบใหม่ ๆ ทั้งสิ้นและเป็นผลของวิธีการคิดที่เรียกว่า "ความคิดสร้างสรรค์"


ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่อยู่ในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้โดยอาศัยสภาพ แวดล้อมที่เหมาะสมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับงาน
ศิลปะอย่างแยกกันไม่ออก หรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปะเป็นผลงานจากความคิดสร้างสรรค์
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ศิลปะเป็นผลจากความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น สิ่งใดก็ตามที่มีความคิดสร้าง
สรรค์ ก็สามารถสร้างงานศิลปะได้ จากตอนต้นที่กล่าวว่า ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น แสดงว่า มนุษย์เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถสร้างงานศิลปะได้แต่นอกเหนือจากมนุษย์แล้วจะยัง มีสิ่งอื่น ๆ อีกหรือไม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ จากประวัติศาสตร์ของมนุษย์ และการศึกษา ค้นคว้า ทางวิทยาศาสตร์ เราจะพบว่าสัตว์โลกหลาย ๆ ชนิดมีความคิด รู้จักความรักและมีสัญชาตญาณ แต่สิ่งเหล่านั้นจะจัดเป็นความคิดสร้างสรรค์หรือไม่ สัตว์ทั้งหลายสามารถสร้างหรือกระทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการได้ดีกว่าเดิมหรือไม่ รู้จักพัฒนาแนวคิด กระบวนการ และผลผลิตให้ดีกว่าเดิมหรือไม่ ?


หากเราจะเปรียบเทียบย้อนหลังไปเมื่อหลายหมื่น- แสนปีก่อนหน้านี้เมื่อมนุษย์ยังอยู่ในถ้ำ ยังไม่สรวมเสื้อผ้า เก็บผลไม้กินหรือไล่จับสัตว์กินเป็นอาหารซึ่งมีชีวิตไม่ต่างจากสัตว์ทั้งหลายในทุกวันนี้ แต่ปัจจุบันมนุษย์ มนุษย์มีบ้านอยู่สบาย มีเครื่องแต่งกายสวยงาม มีสิ่งอำนวยความสะดวก
มาก มาย สามารถไปได้ทั้งบนน้ำ ในน้ำ ในอากาศและอวกาศ มีเมือง มีระบบสังคม มีระเบียบปฏิบัติร่วม กัน มีกระบวนการพัฒนามนุษย์ที่จะสืบทอดดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป มีจริยศาสตร์ มีศาสนาและพิธีกรรม มีรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันอย่างหลกาหลาย กระจายไปทั่วโลก ขณะที่สัตว์โลกอื่น ๆ ยังคง ดำรงชีวิตอยู่เดิม ๆที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ข้อแตกต่างนี้ บางทีอาจเป็นสิ่งพิสูจน์ได้ว่า มนุษย์ เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ เพียงหนึ่งเดียวบนโลกนี้ ดังนั้น ศิลปะจึงเป็นเรื่องของมนุษย์ สร้างขึ้น โดยมนุษย์ และเพื่อมนุษย์เท่านั้น

จากข้อความข้างต้นที่กล่าวมา เราอาจสรุปได้ว่า ศิลปะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งในความหมายเช่นนี้ แสดงว่า สิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์คิดค้นกระทำขึ้นมา ทั้งที่เป็นการกระทำใหม่ ๆ หรือเป็นการกระทำสิ่งต่าง ๆให้ดีขึ้นกว่าเดิมล้วนแต่เป็นงานศิลปะทั้งสิ้น อย่างนั้นหรือไม่ ? ถ้าเป็น อย่างนั้น แนวคิดใหม่ ๆ วิธีการใหม่ ๆ ประดิษฐ์กรรมใหม่ ๆ ความเชื่อใหม่ ๆ ศาสนาใหม่ ๆ ตลอด จนถึงการดำรงชีวิตแบบใหม่ อาวุธใหม่ ๆ การสร้างความหายนะให้กับผู้อื่นด้วยวิธีการใหม่ ๆ ก็เป็น ศิลปะอย่างนั้นหรือ ? การทำลายล้างด้วยอาวุธใหม่ ๆ รวดเร็ว รุนแรง สร้างความเสียหายใหญ่หลวงจะถูกยกย่องว่าเป็นผลงานศิลปะชั้นเยี่ยมหรือไม่ ?

ศิลปะคือความงาม
เมื่อเราพูดถึง ศิลปะ เรามักจะหมายถึง ความงามแต่ความงามในที่นี้เป็นเรื่องของคุณค่า (Value) ที่ เป็นคุณค่าทางสุนทรียะ แตกต่างจากคุณค่าทางเศรษฐกิจ ที่เป็นราคาของวัตถุ แต่เป็นคุณค่าต่อจิตใจความงามเกิดขึ้นด้วยอารมณ์ มิใช่ด้วยเหตุผล ความคิด หรือข้อเท็จจริง คนที่เคร่งครัดต่อเหตุผลหรือเพ่งเล็งไปที่คุณค่าทางวัตถุจะไม่เห็นความงาม คนที่มีอารมณ์ละเอียดอ่อนไหว จะสัมผัสความงามได้ ง่ายและรับได้มาก ความงามให้ความยินดี ให้ความพอใจได้ทันทีโดยไม่ต้องมีเหตุผล ความยินดีนั้น เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับ ความงามนั้นเกี่ยวข้องกับวัตถุก็จริง แต่มิได้เริ่มที่วัตถุ มันเริ่มที่อารมณ์ ของคน ดังนั้น ความงามจึงเป็นอารมณ์ เป็นสุขารมณ์หรือเป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความสุข เป็น1 ใน 3 สิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขกับมนุษย์ ซึ่งได้แก่ ความดี ความงาม และความจริง ผู้ที่ยอมรับและเห็นใน คุณค่าของทั้งสามสิ่งนี้ จะเป็นผู้มีความสุข เนื่องจากความงามเป็นอารมณ์ เป็นสิ่งที่อยู่ในความรู้สึก นึกคิด ความงามจึงเป็นนามธรรม ดังนั้น การสร้างสรรค์งานศิลปะ ก็เป็นการถ่ายทอดความงามผ่าน สื่อวัสดุต่าง ๆ ออกมา เพื่อให้ผู้อื่นได้สัมผัส ได้พบเห็น ได้รับรู้ สื่อต่าง ๆ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ชม เกิดอารมณ์ทางความงามที่แตกต่างกันตามค่านิยมของแต่ละบุคคล ความงามไม่ใช่ศิลปะ เนื่องจากว่า
ความงามไม่จำเป็นต้องเกิดจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ในธรรมชาติก็มีความงามเช่นกัน เช่น บรรยากาศ ขณะที่พระอาทิตย์ขึ้น หรือตกดิน ความสวยงามสดชื่นของดอกไม้ ทิวทัศน์ธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้นงานศิลปะที่ดีจะให้ความพึงพอใจในความงามแก่ผู้ชมในขั้นแรก และจะให้ความสะเทือนใจที่คลี่คลายกว้างขวางยิ่งขึ้นด้วยอารมณ์ทางสุนทรียะของผลงานศิลปะนั้นในขั้นต่อไป ความงามในงาน

ศิลปะออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ความงามทางกาย (Physical Beauty) เป็นความงามของรูปทรง
ที่กำหนดเรื่องราว หรือเกิดจากการ ประสานกลมกลืนกัน
ของทัศนธาตุ เป็นผลจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ
2 ความงามทางใจ (Moral Beauty) ได้แก่ ความรู้สึก หรืออารมณ์
ที่แสดงออกมาจากงานศิลปะหรือ ที่ผู้ชมสัมผัสได้จาก
งานศิลปะนั้น ๆ ในงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ๆ มีความงามทั้ง 2 ประเภทอยู่ร่วมกัน แต่อาจแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง มากน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของงานเจตนาของผู้สร้างและการรับรู้ของผู้ชมด้วย
ความงามในศิลปะ เป็นการสร้างสรรค์ล้วน ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับความงามวัตถุในธรรมชาติ เป็นความงามที่แสดงออกได้
แม้ในสิ่งที่น่าเกลียด หัวข้อ เรื่องราว หรือเนื้อหาที่ใช้สร้างงานนั้นอาจน่าเกลียด แต่เมื่อเสร็จแล้ว ก็ยังปรากฎความงามที่เกิดจากอารมณ์ที่ศิลปินแสดงออก ดังนั้น ความงามจึงเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง ที่ว่าด้วยความงามที่ศิลปินแสดงออกในงานศิลปะ ซึ่งเรียกว่า "สุนทรียศาสตร์" มีข้อความที่ใช้กัน มาตั้งแต่สมัยเรอเนซองค์จนถึงทุกวันนี้ว่า "ศิลปะมิได้จำลองความงาม แต่สร้างความงามขึ้น"

ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า "ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงาม และความพึงพอใจ"ที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์สืบเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตอันยาวนานจนถึงปัจจุบัน และจะสร้างสรรค์สืบต่อไปในอนาคตให้อยู่คู่กับเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปตราบนานเท่านาน โดยมีการ สร้างสรรค์ พัฒนารูปแบบต่าง ๆ ออกไปอย่างมากมายไม่มีที่สิ้นสุด
ศิลปะในความหมายต่าง ๆ


ศิลปะ แต่เดิมหมายถึง งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วย ความประณีตวิจิตรบรรจงฉะนั้น งานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็น ผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญาความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
คำว่า Art ตามแนวสากลนั้น มาจากคำ Arti และ Arte ซึ่งเริ่มใช้ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ความหมายของคำ Arti นั้น หมายถึงกลุ่มช่างฝีมือในศตวรรษที่ 14 , 15 และ 16 คำ Arte มีความหมายถึงฝีมือ ซึ่งรวมถึงความรู้ของการใช้วัสดุของศิลปิน ด้วย เช่นการ การผสมสี ลงพื้นสำหรับการเขียนภาพสีน้ำมัน หรือการเตรียมและการใช้วัสดุอื่นอีก การจำกัดความให้แน่นอนลงไปว่าศิลปะคืออะไรนั้น เป็นเรื่องยาก เพราะว่า ศิลปะเป็นงานสร้างสรรค์
ศิลปินมีหน้าที่ สร้างงานที่มีแนวคิดและรูปแบบแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา ทฤษฎีศิลปะในสมัยหนึ่งอาจ
ขัดแย้งกับของอีกสมัยหนึ่งอย่างตรงกันข้าม และทฤษฎีเหล่านั้นก็ล้วนเกิดขึ้นภายหลังผลงานสร้างสรรค์ที่เปลี่ยนแปลงและก้าวล้ำหน้าไปก่อนแล้วทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ทัศนะเกี่ยวกับ ความหมายของศิลปะได้ถูกกำหนดตามการรับรู้ และตามแนวคิดต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดย บุคคลต่าง ๆ ซึ่งพอยกตัวอย่างได้ดังนี้
….ศิลปะ คือ ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ปรากฏซึ่ง
สุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ความอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์
รสนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีหรือ
ความเชื่อทางศาสนา ( พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2530 )

….ศิลปะ คือ ผลงานการสร้างสรรค์รูปลักษณ์แห่งความพึงพอใจขึ้นมา และรูปลักษณ์ก่อให้เกิดอารมณ์
รู้สึกในความงาม อารมณ์รู้สึกในความงามนั้นจะเป็นที่พึงพอใจได้ก็ต่อเมื่อ ประสาทสัมผัสของเรา
ชื่นชมในเอกภาพ หรือความประสมกลมกลืนกันในความสัมพันธ์อันมีระเบียบแบบแผน
( Herbert Read, 1959)

….ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา ความคิด และ/ หรือความงาม
( ชลูด นิ่มเสมอ, 2534 )

….ศิลปะ เป็นผลงานที่เกิดจากการแสดงออกของอารมณ์ ปัญญา และทัศนคติ รวมทั้งทักษะความชำนิ ชำนาญของมนุษย์
การสร้างสรรค์งานศิลปะในปัจจุบันมีแนวโน้มไปในทางการสร้างสรรค์ และการแสดงออกของอารมณ์และความคิด
ดังนั้น งานศิลปะนั้นอย่างน้อยที่สุดควรก่อให้เกิดอารมณ์ และ ความคิดสร้างสรรค์
กล่าวคือ เป็นงานที่สื่อให้ผู้ชมเกิดจินตนาการ นอกจากนั้น งานศิลปะที่ดีควรจะมีคุณค่าทางความงาม
ซึ่งเกิดจากการใช้องค์ประกอบของสุนทรียภาพ
( วิรัตน์ พิชญ์ไพบูลย, 2524)

10 คำสำคัญทางด้านทัศนศิลป์


1.ทัศนศิลป์(Visual Art) คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม
มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทัศนศิลป์คือการรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมุติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตามทัศนศิลป์เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทางจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะทัศนา งานศิลป์ นั้น
แนวคิดทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมอง ได้แก่ รูปภาพทิวทัศน์ทั่วไป รูปภาพคนเหมือน ภาพล้อ ภาพสิ่งของต่างๆ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของทัศนศิลป์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้ากล่าวว่าทัศนศิลป์เป็นความงามทางศิลปะที่ได้จากการมอง หรือ ทัศนา นั่นเอง

2.การวาดเส้น (Drawing) เป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และการออกแบบ เป็นการสร้างภาพสองมิติโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ให้เกิดร่องรอยต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ ดินสอ ปากกาและหมึกเครยองดินสอสี ดินสอถ่าน ชอล์ก ชอล์กสี
ปากกามาร์กเกอร์ ปากกาหมึกซึม ซึ่งโดยมากจะเขียนลงบนกระดาษ หรือวัสดุอื่นอย่าง เช่น กระดาษแข็ง พลาสติก หนังผ้ากระดาน ฯลฯ

3.จิตรกรรม (Painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด การระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่นๆ เพื่อให้เกิดภาพสองมิติ โดยจะไม่มีความลึกหรือนูนหนามากนัก งานจิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกรจอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของงานจิตรกรรมไว้ว่า “งานจิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น”
นอกจากนี้ในพจนานุกรมศัพท์ ได้อธิบายถึงงานจิตรกรรมไว้ว่า งานจิตรกรรมเป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด ด้วยวัสดุทางจิตรกรรม

4.ประติมากรรม (Sculpture)เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น การแกะสลัก การหล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรงสามมิติ ที่มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ ได้ อาทิ เรื่องราวเกี่ยวกับสภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์ โดยผ่านกระบวนการสร้างงานทางประติมากรรม งานประติกรรมถือเป็นแขนงหนึ่งของงานทัศนศิลป์ โดยผู้ทำงานประติมากรรม จะเรียกว่า ประติมากรงานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร
งานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของความลึก ได้แก่
* ประติมากรรมนูนต่ำ
* ประติมากรรมนูนสูง
* ประติมากรรมลอยตัว
นอกจากนี้ยังมีงานประติมากรรมที่เป็นลักษณะโมบาย ที่แขวนลอยอยู่และเคลื่อนไหวได้ และงานประติมากรรมที่ติดตั้งชั่วคราว ที่เรียกว่า ศิลปะจัดวาง(Installation Art)

5.ภาพพิมพ์แกะไม้ (Wood Cut) คือศิลปะการพิมพ์แบบนูน (Relief Printing) โดยแกะภาพที่จะใช้พิมพ์ลงบนผิวไม้ก่อน ส่วนที่จะปรากฏบนภาพพิมพ์จะเป็นระดับเดียวกันกับระนาบของไม้ ส่วนอื่นที่ไม่ต้องการจะให้เกิดเป็นภาพก็จะแกะลึกลงไปด้วยสิ่ว เมื่อพิมพ์ภาพออกมาส่วนนี้ก็จะเป็น “สีขาว”ส่วนไม้ที่เหลือไว้เมื่อพิมพ์ออกมาก็จะกลายเป็นรูปภาพ ในยุโรปไม้ที่ใช้ส่วนใหญ่จะใช้เป็นไม้บีช ส่วนในประเทศญี่ปุ่นจะใช้เป็นไม้เชอร์รีโดยในกระบวนการพิมพ์ก็จะกลิ้งหมึกพิมพ์ด้วยลูกกลิ้งมือ
ทำให้หมึกเกาะบริเวณที่ต้องการจะพิมพ์แต่ไม่เกาะในส่วนที่เป็นร่องลึกลงไป ของแม่พิมพ์
ส่วนการพิมพ์หลายสีก็ใช้แม่พิมพ์ไม้หลายๆแม่พิมพ์โดยแต่ละแม่พิมพ์ก็จะใช้สีแตกต่างกันไป

6.ภาพพิมพ์หิน (Lithography)“ Lithography ” มาจากภาษากรีกว่า (lithos) ที่แปลว่า “หิน” สมาสกับคำว่า (grapho) ที่แปลว่า “เขียน” คือเทคนิคการพิมพ์ที่ใช้หินปูนเป็นแม่พิมพ์ (Lithographic Limestone)
หรือใช้แผ่นโลหะที่มีผิวเรียบเป็นแม่พิมพ์ เทคนิคการพิมพ์แบบนี้จะใช้คุณลักษณะความไม่เข้ากันของน้ำมันหรือไขมันกับน้ำ เพราะน้ำจะไม่เกาะตัวในบริเวณที่เป็นไขมัน ภาพพิมพ์หินเป็นเทคนิคที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยนักเขียนชาวบาวาเรีย อล็อยส์ เซอเนอเฟลเดอร์ในปี ค.ศ. 1796 เพื่อใช้เป็นการลดต้นทุนในการพิมพ์งานศิลปะ ภาพพิมพ์หินสามารถใช้ในการพิมพ์ตัวอักษรหรืองานศิลปะบนกระดาษหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสมในปัจจุบันหนังสือส่วนใหญ่ หรือหนังสือที่พิมพ์เป็นจำนวนมากๆทั้งหมดจะใช้วิธีพิมพ์ที่เรียกว่า “ OffsetLithography”

7.ภาพเหมือนตนเอง(Self-Portrait) คือภาพเหมือนของตัวศิลปินเอง ไม่ว่าจะเกิดจากการเขียนด้วยสี, การถ่ายภาพ หรือการแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริงๆ จนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งสามารถผลิตกระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำให้การเขียนภาพเหมือนในงานจิตรกรรมมีการทำกันแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ ผลงาน “ภาพเหมือนชาย (ภาพเหมือนตนเอง?)”วาดโดย ยาน ฟาน เอค(Jan Van Eyck) ในปี ค.ศ. 1433
ซึ่งเป็นภาพเหมือนตนเองภาพแรกที่มีหลักฐานให้เห็น อีกภาพหนึ่งที่ เขาเขียนเป็นภาพของภรรยาของเขา นอกจากนั้นเขาก็ยังเป็นสมาชิกของกลุ่มที่เริ่มจะรับงานเขียนภาพเหมือนโดยทั่วไป อันมีผู้ว่าจ้างเป็นกลุ่มผู้มีอันจะกินชาวเนเธอร์แลนด์ แต่ก็มิได้เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปจนกระทั่งมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) เมื่อผู้คนมีฐานะมั่งคั่งมากขึ้น จึงให้ความสนใจในการใช้ตัวเองเป็นแบบในการเขียนภาพเพิ่มมากขึ้น

8.สื่อผสม (Mixed Media) เป็นการนำสื่อมากกว่าสองสื่อ หรือศิลปะมากกว่าสองแขนงมารวมกันขึ้นเป็นงานชิ้นเดียวกัน นิยมใช้สื่อที่แตกต่างกัน โดยนำจุดเด่นของแต่ละสื่อมาใช้ร่วมกัน เช่นการสร้างงาน ที่ใช้ทั้งงานประติมากรรมและงานจิตรกรรมมาผสมผสานเข้าเป็นการงานชิ้นเดียวกัน ที่ทำให้ผลงานจิตรกรรมอันมีลักษณะเป็นสองมิติกลายเป็นงานที่มีลักษณะเป็นสามมิติ เมื่ออยู่ร่วมกันกับผลงานประติมากรรม

9.ศิลปะจัดวาง(Installation Art) หมายถึงประเภทของงานศิลปะที่มีที่ตั้งเฉพาะจุด, เป็นงานสามมิติ ที่ออกแบบเพื่อที่จะแปรสภาพการรับรู้ของสิ่งแวดล้อม (Perception of a Space)โดยทั่วไปแล้ว “ศิลปะจัดวาง” จะหมายถึงศิลปะภายในตัวสิ่งก่อสร้าง ถ้าตั้งอยู่ภายนอกก็มักจะเรียกว่า “ศิลปะภูมิทัศน์” (Land
Art)และศิลปะสองประเภทนี้คาบเกี่ยวกัน ศิลปะจัดวางอาจจะเป็นได้ทั้งศิลปะที่ติดตั้งอย่างถาวรหรือเพียงชั่วคราวก็ได้ ศิลปะจัดวางได้รับการติดตั้งในการแสดงงานนิทรรศการศิลปะ เช่น ในพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ หรือในบริเวณสถานที่ส่วนบุคคลหรือสถานที่สาธารณะ ประเภทของงานก็ครอบคลุมตั้งแต่การใช้วัสดุที่พบโดยทั่วไป ที่มักจะเลือกสรรจากวัสดุที่ทำให้เกิดผลกระทบกับอารมณ์ รวมไปถึงวัตถุสมัยใหม่เช่นวิดีโอ,เสียง,การแสดง,และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ศิลปะจัดวางหลายชิ้นเป็นศิลปะเฉพาะที่ (Site-Specific Art)ซึ่งหมายความว่าเป็นงานที่ออกแบบให้ติดตั้งตรงตำแหน่งหรือสถานที่ที่สร้างงานศิลปะโดยเฉพาะเท่านั้น

10.ศิลปะเชิงแนวความคิด(Conceptual Art) คือศิลปะที่เน้นในเรื่องของแนวความคิด (Concept) เป็นหลักในการสร้างงาน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับความงามแต่เพียงอย่างเดียว ฉะนั้นงานหลายๆชิ้นที่สร้างขึ้นบางครั้งก็อาจจะมีลักษณะที่แตกต่างจากงานศิลปะโดยทั่วไปเช่น ไม่อาจจำแนกประเภทของผลงานศิลปะลงไปได้อย่างจำเพาะเจาะจงได้ หรือ ในบางครั้งผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้เกิดจากการลงมือทำของศิลปินเลย หากเกิดขึ้นโดยผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้โดยการทำตามคำสั่งของศิลปินที่ระบุไว้ให้
ยกตัวอย่างคำนิยามของ “ศิลปะเชิงแนวความคิด”ของซอล เลวิทท์ (Sol Lewitt) ที่ว่า:“การสร้างศิลปะเชิงแนวคิด ความคิดหรือแนวคิดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสร้างงาน เมื่อศิลปินใช้รูปลักษณ์ของศิลปะเชิงแนวคิดก็จะหมายความว่าการวางแผนและการตัดสินใจที่จะสร้างงานได้รับการทำไปแล้วการสร้างงานจริงจึงเป็นการทำอย่างเป็นพิธีเท่านั้น ความคิดกลายมาเป็นเครื่องมือในการสร้างงานศิลปะ”

10 Style of Fashion Design


1. Art Deco
Art Deco เป็นแฟชั่นที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี ค.ศ. 1920 เป็นรูปแบบหนึ่งที่สำคัญที่แสดงถึงงานแฟชั่นสไตล์คลาสสิก และการเน้นโครงสร้างที่เป็นเหลี่ยม ซึ่งเป็นศูนย์รวมของแฟชั่น Deco ทัศนคติที่มีการเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าของผู้หญิงให้ทันสมัย ปี ค.ศ. 1920 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการแต่งกายกันมากขึ้น ช่วงเวลานี้เป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงและการกบฎ เพศชายรูปแบบจะแต่งตัวในแบบ "bustless, hipless รูปร่างเหมือนเด็ก"(เมนเดส, 2003 ] ชุด'Charleston'คลาสสิก, ลูกปัด, ฝอย

2. Beatnik
สไตล์ Beatnik ต้องทำการเบิกทางพิชิตความเข้าใจของผู้คนทั่วโลก ที่จะต้องเน้นโทนขาวดำ, และดึงจุดเด่นของยุค50s และ 60s นำมาออกแบบและสร้างขึ้นใหม่ ชึ้งยังคงเน้นการสวมใส่ได้จริง สีดำนั้นเป็นสีพื้นฐานที่สำคัญที่สุด และจะผสมสีอื่นๆลงไปในเสื้อผ้า Beatnik จะต้องมี props คือ แว่นตากันแดด กระเป๋า เพื่อให้เกิดความน่าสนใจในการสวมใส่มากขึ้น

3. BIKER
รถจักรยนต์บนทางหลวง สำหรับการผจญภัยและสิ่งมีชีวิตที่เน้นความอิสระ จึงได้นำเนื้อเพลงเหล่านั้นมาสร้างแรงบันดาลใจให้คุณ ไรเดอร์สไตล์อีซี่, คุณยังสามารถมองเสื้อผ้าส่วนหนึ่งของเราให้เข้ากับนักขี่จักรยาน รถจักรยานยนต์คู่กับแจ็กเก็ตยีนส์ กางเกงยีนส์เป็นชุดหนังสีดำและชุด slinky - up ลูกไม้ รองเท้าสำหรับนักขี่จักรยานเรียบง่ายดูเก๋ ในฤดูหนาวจะนิยมแจ็คเก็ตยีนส์ สวมใส่กับกางเกงหนัง ถุงมือ จะช่วยให้คุณอยู่ในอารมณ์ฤดูหนาวได้


4. Boho Chic
การแต่งกาย boho style ซึ่งจะไม่เหมือนกับสไตล์ โบฮีเมียนเท่าไหร่นัก เพราะว่ามันมีความแตกตางในตัวของมัน ในรูปแบบ แฟชั่นสไตล์ boho ก็คือลักษณะชุดลำลอง และชุดที่ให้อารมณ์ผ่อนคลาย คล้ายกับ สไตล์ฮิปปี้ ซึ่งจะเป็นที่มาและแหล่งจูงใจไปถึงสไตล์ วินเทจ สไตล์ boho ง่ายต่อการจดจำเป็นอย่างมาก Muses ของสไตล์ boho ได้แก่ Kate Moss, Nicole Richie, Mischa Barton

5. Disco
ดิสโก้เริ่มขึ้นในปี 1970 และเป็นที่น่าจดจำสำหรับกางเกงที่เป็นเอกลักษณ์และท็อปส์ซูเงา ซึ่งติดดิสโก้ไว้ กางเกงในสีเคลือบมัน เลื่อมมักจะถูกนำมาปรับใช้กับการแต่งกายสไตล์นี้ นักต้นเป็นอาชีพที่ทันสมัยมาก เพราะยุคนี้จะต้องเกิดมาเต้นและกระทบไหล่กันที่ดิสโก้ หรือเป็นการเต้นดิสโก้ที่บ้าคลั่น สีทอง ผิวเสือดาว และ jumpsuits เสื้อผ้าสีขาวที่ glowed ในไฟ Ultra Violet จับ 70s มาอยู่ในแฟชั่นดิสโก้ได้อย่างสมบูรณ์
ดิสโก้ให้นิยามการแต่งกายและนโยบายการแต่งกายว่าการ ใส่ดิสโก้ที่ทำการสวมใส่วัน มันเป็นเพียงเสื้อผ้าที่สวมใส่ได้จริงและเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ของบรรยากาศของแสงไฟแฟลช, ลูกกระจกและ spotlighting ของบุคคลในเวลาใด ๆ
ดิสโก้, สื่อโฆษณา, Circa.1972 - ในช่วงต้นเพื่อไมล์ปี 1970, ดิสโก้เริ่มเคลื่อนไหว นี้เป็นบิตของการปฏิวัติเพลงที่ spurned การเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกันของแฟชั่นเสื้อผ้าที่สวมใส่หรูหราฉูดฉาด


6. Flapper
flappers สาวของยี่สิบรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามโมเดลเข้มงวดของ feminity ว่าแม่ของพวกเขาได้รับการยอมรับ ในช่วงปี ค.ศ. 1920, แฟชั่นสำหรับหญิงสาวที่เน้นรูปแบบทางกายภาพหญิงน้อย Dresses หยุดที่หัวเข่า, hiplines ได้ลดลงและมีความสำคัญน้อยลงในการเปิดหน้าอก
เช่นเดียวกับแฟชั่นผู้หญิงในช่วงปี ค.ศ. 1920, ชุดราตรีในการแสดงความก้าวหน้ามากขึ้นของร่างกาย ในขณะที่ยังคงความยาวกระโปรงเต็มขอบเสื้อผู้หญิงตอนหน้าอกใน speakeasy และไนท์คลับยุโรปกลาย ชุด Backless ยังคงเป็นที่นิยมตลอดยี่สิบ ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของชุดราตรีในช่วงยี่สิบถูกประดับด้วยลูกปัด สายยาวของชุด backless (ถ้าไม่ได้แต่งกายทั้งหมด) แนะนำผ้าชีฟองด้วยลูกปัด

7. FOX HUNTING
ในช่วงฤดูล่าสัตว์ลูกสัตว์แต่งตัวเป็นทางการ แฮ็คแจ๊คเก็ตผ้าสักหลาดชนิดหนานุ่มสวมใส่กับ ratcatchers สำหรับ
ผู้หญิง และเสื้อกับไทสำหรับสุภาพบุรุษ พวกเขาอาจเป็นได้ทั้งสีธรรมดาหรือรูปแบบที่หลากหลาย
ในสภาพอากาศที่หนาวมากขึ้น ratcatchers และเสื้อโปโล หรือการแฮ็กแจ็กเก็ต cubbing มีกระเป๋าเป๋
แจ็คเก็ตมีช่องระบายอากาศด้านข้าง ระบายบนแจ็กเก็ตของพวกเขา แต่ของสภาพแวดล้อมในวันนี้ให้
โอกาสสำหรับผู้สวม -- ชายหรือหญิง -- เพื่อ เลือกสิ่งที่จะดูดีที่สุดสำหรับรูปร่างของเธอร่างกายหรือของเขา
เมื่อเลือกแจ็คเก็ตแฮ็คให้เลือกสี และรูปแบบที่เป็นของตัวเอง สี เสื้อสามารถเลือกสีใดที่มีลักษณะและรูปแบบ ดีกับแจ็คเก็ต หรือสีสต็อกผูกเป็นลวดลาย บางครั้งสวมใส่ในช่วงฤดู cubbing เสื้อ Tattersall อาจให้สวมใส่รวมทั้ง เน็คไทและเสื้อยืดสต็อกที่ดี วิธีการของการขับขี่ที่อบอุ่นเป็นวันที่กลายเป็น เย็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการล่าสัตว์ฤดูกาลปกติ สวมเสื้อแจ๊คเก็ Riders Tweed ควรสวมใส่สีดำ cordovan, สีน้ำตาลหรือรองเท้าเขตตาลอังกฤษ แต่สีดำ และสนามบู๊ทส์ได้กลายเป็นชุดมากขึ้น ยอมรับได้ ผู้ขับขี่สามารถใส่สามหัวเข็มขัดแทนการบูตเขตข้อมูล ทั้งชุดรองเท้าและเขตข้อมูล เข่าสูงเป็นรองเท้าที่มาถึงเพียงแค่ด้านล่าง; เขตข้อมูลบูตได้ laces ที่ข้อเท้าและรูปแบบการแต่งกายได้ ไม่ ด้วยรูปแบบทั้งรองเท้าควรจะสูงพอที่จะ เพียงกดที่หัวเข่าด้านหลังของเมื่อขาของผู้ขับขี่เป็น โก่ง
กางเกงขี่ม้าจะเป็นสนิมหรือตาล; มีหลาย ร่มเงาของตาลที่เป็นที่ยอมรับ และสีแฟชั่น รูปแบบที่กางเกงไม่ได้รับอนุญาต

8. MOD
Mod (จากสมัยใหม่) เป็นวัฒนธรรมย่อยของเยาวชนที่เริ่มขึ้นในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษในปลายปี 1950 วัฒนธรรมย่อยมดเป็นระดับการเคลื่อนไหวการทำงานกับชุดสุกใสมากและผมสั้นและอยู่ในบูมในช่วงต้นเต็มไป 1960 - กลาง เหมาะสมกับการทำอย่างพิถีพิถันเทเลอร์กับ lapels แคบความสัมพันธ์บางปุ่มลงเสื้อและเสื้อกันหนาวขนสัตว์หรือผ้าขนสัตว์ชนิดหนึ่งที่กำหนดลักษณะ mod สำหรับผู้ชาย สีเป็นหนึ่งในลักษณะสำคัญของ'Mods.'จานออกเสียงและดินสอสีของ 50 ของถูกแทนที่ด้วยสีสดใสตัวหนาตัว splayed มักจะอยู่ในรูปแบบทางเรขาคณิต เรียบง่ายเป็นสำคัญสำหรับการดูมดและหญิงเริ่มใส่ miniskirts, กางเกงผู้ชายหรือเสื้อ, รองเท้าแบนและนำไปใช้น้อยแต่งหน้า

9. TEDDY BOY
การทำงานเยาวชนชั้นนำสไตล์เป็นของตนเองนี้ พวกเขาสร้างขึ้นดูคลาสสิกเทดดี้บอย คลาสสิกเท็ดมีแจ็คเก็ตยาวกับคอกำมะหยี่ คอกำมะหยี่เป็นส่วนสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดู แจ็คเก็ตมักจะมีในวัสดุธรรมดากับเพลงบลูหรือเทาเป็นธรรมดา มันเป็นช่วงการฟื้นตัวอายุเจ็ดสิบที่เท็ดดี้บอยได้มาดูสดใสตกตะลึงสีชมพู, ไฟฟ้าสีฟ้าและสีเขียวมะนาวรูปแบบเช่นเช่นเดียวกับที่แสดงโดยวงอายุเจ็ดสิบ, Showaddywaddy
Teds สวมกางเกงขายาวท่อระบายน้ำและความสัมพันธ์ที่แคบมักจะมีลายเส้นแนวนอน บางครั้งพวกเขาสวมสไตล์อเมริกันผูกเชือกร้อยรองเท้าเป็นทางเลือก หนาเครป - soled รองเท้าหนังนิ่ม, ที่รู้จักกันเป็น creepers ซ่องเสร็จเครื่องแต่งกาย
มันเป็นเรื่องยากที่จะซื้อชุดในรูปแบบเท็ดดี้บอย เทเลอร์ธรรมดาไม่ได้ทำให้พวกเขา Montague Burton, จัดหาของมวลเหมาะสมกับการปรับราคาถูกที่ผลิตได้มากอนุรักษ์นิยมมากขึ้น คุณต้องไปที่ร้าน Backstreet ที่เชี่ยวชาญเกียร์เทดดี้บอย ร้านค้าเช่น Kenny ใน Leamington Spa ซึ่งลดลงในชั้นใต้ดิน เต็มเหมาะกับเท็ดดี้บอยยังมีราคาแพง

10. ZOOT SUIT
คนที่แตกต่างกันจำนวนมากมีอ้างว่าเป็นนักประดิษฐ์ของชุด zoot ในความเป็นจริงรูปแบบอาจมีรากฐานมาจากในหมู่เยาวชนสีดำไม่ดีของยุค Great Depression (1929-1941) ไม่สามารถซื้อเสื้อผ้าใหม่หลายอเมริกันแอฟริกันหนุ่มสวมชุดสูทซึ่งเป็นของญาติเก่าถ่ายไว้ในที่เอว, สะโพกและข้อเท้า เทเลอร์และ bandleader ในชิคาโก, อิลลินอยส์, ชื่อ Harold C. Fox (1910-1996) อ้างว่าได้ทำให้เหมาะกับ zoot แรกในปี 1941 เพราะเขาชอบรูปแบบของการตัดชุดสูทลงบนเขาเห็นวัยรุ่นเมืองยากจน Fox และอื่น ๆ ชอบสไตล์เพราะมันสบายพอที่จะดูเย็น แต่หลวมพอที่จะทำอัลบั้มเต้นแจ๊ส เหมาะกับรูปแบบใหม่กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอเมริกันแอฟริกันแจ๊สจากพื้นที่ใกล้เคียง Harlem New York ของที่ New Orleans, ไตรมาสที่รัฐหลุยเซียนาของฝรั่งเศส มันเป็นคำแสลงแจ๊สร่วมกันที่จะนำ"Z"ที่จุดเริ่มต้นของคำเพื่อให้เหมาะกับเป็น zoot
zoot เหมาะสมกับการแพร่กระจายใหม่เร็ว ๆ นี้เวสต์โคสต์, ที่หนุ่ม Chicanos เอาขึ้นแฟชั่น ความภาคภูมิใจและความรู้สึกของตัวตนที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยง zoot แรงบันดาลใจในวัยเด็กของสีที่ถูกคุกคามผ้าขาวอนุรักษ์นิยมมากและบางปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแม้จะใช้ความรุนแรงในสายตาของชายหนุ่มใส่สูท zoot ที่โดดเด่น บางทีตัวอย่างมากที่สุดของความรุนแรงครั้งนี้มี"จลาจลเหมาะกับ zoot"ที่เกิดขึ้นใน Los Angeles, California, ในมิถุนายน 1943 เริ่มต้นจากการต่อสู้ระหว่างชาวเรือน้อยและคนหนุ่มสาวน้อยในชุด zoot,
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง (1939-1945) เริ่มต้น, การแบ่งส่วนผ้าที่เกิดจากรัฐบาลสหรัฐเพื่อให้เหมาะกับบ้าน zoot แบบไม่เคยเป็นอย่างกว้างขวางอีกครั้ง แต่เป็นถุงแฟชั่นนิยมมากในหมู่เยาวชนของปี 1990 สามารถมองเห็นเป็นลูกหลานของชุด zoot


http://dmetts2.wordpress.com/

What is graphic design?


What is graphic design? from AIGA Career Guide

Suppose you want to announce or sell something, amuse or persuade someone, explain a complicated system or demonstrate a process. In other words, you have a message you want to communicate. How do you “send” it? You could tell people one by one or broadcast by radio or loudspeaker. That’s verbal communication. But if you use any visual medium at all—if you make a poster; type a letter; create a business logo, a magazine ad, or an album cover; even make a computer printout—you are using a form of visual communication called graphic design.

Graphic designers work with drawn, painted, photographed, or computer-generated images (pictures), but they also design the letterforms that make up various typefaces found in movie credits and TV ads; in books, magazines, and menus; and even on computer screens. Designers create, choose, and organize these elements—typography, images, and the so-called “white space” around them—to communicate a message. Graphic design is a part of your daily life. From humble things like gum wrappers to huge things like billboards to the T-shirt you’re wearing, graphic design informs, persuades, organizes, stimulates, locates, identifies, attracts attention and provides pleasure.

Graphic design is a creative process that combines art and technology to communicate ideas. The designer works with a variety of communication tools in order to convey a message from a client to a particular audience. The main tools are image and typography.

Image-based design
Designers develop images to represent the ideas their clients want to communicate. Images can be incredibly powerful and compelling tools of communication, conveying not only information but also moods and emotions. People respond to images instinctively based on their personalities, associations, and previous experience. For example, you know that a chili pepper is hot, and this knowledge in combination with the image creates a visual pun.

In the case of image-based design, the images must carry the entire message; there are few if any words to help. These images may be photographic, painted, drawn, or graphically rendered in many different ways. Image-based design is employed when the designer determines that, in a particular case, a picture is indeed worth a thousand words.

Type-based design
In some cases, designers rely on words to convey a message, but they use words differently from the ways writers do. To designers, what the words look like is as important as their meaning. The visual forms, whether typography (communication designed by means of the printed word) or handmade lettering, perform many communication functions. They can arrest your attention on a poster, identify the product name on a package or a truck, and present running text as the typography in a book does. Designers are experts at presenting information in a visual form in print or on film, packaging, or signs.

When you look at an “ordinary” printed page of running text, what is involved in designing such a seemingly simple page? Think about what you would do if you were asked to redesign the page. Would you change the typeface or type size? Would you divide the text into two narrower columns? What about the margins and the spacing between the paragraphs and lines? Would you indent the paragraphs or begin them with decorative lettering? What other kinds of treatment might you give the page number? Would you change the boldface terms, perhaps using italic or underlining? What other changes might you consider, and how would they affect the way the reader reacts to the content? Designers evaluate the message and the audience for type-based design in order to make these kinds of decisions.

Image and type
Designers often combine images and typography to communicate a client’s message to an audience. They explore the creative possibilities presented by words (typography) and images (photography, illustration, and fine art). It is up to the designer not only to find or create appropriate letterforms and images but also to establish the best balance between them.

Designers are the link between the client and the audience. On the one hand, a client is often too close to the message to understand various ways in which it can be presented. The audience, on the other hand, is often too broad to have any direct impact on how a communication is presented. What’s more, it is usually difficult to make the audience a part of the creative process. Unlike client and audience, graphic designers learn how to construct a message and how to present it successfully. They work with the client to understand the content and the purpose of the message. They often collaborate with market researchers and other specialists to understand the nature of the audience. Once a design concept is chosen, the designers work with illustrators and photographers as well as with typesetters and printers or other production specialists to create the final design product.

Symbols, logos and logotypes
Symbols and logos are special, highly condensed information forms or identifiers. Symbols are abstract representation of a particular idea or identity. The CBS “eye” and the active “television” are symbolic forms, which we learn to recognize as representing a particular concept or company. Logotypes are corporate identifications based on a special typographical word treatment. Some identifiers are hybrid, or combinations of symbol and logotype. In order to create these identifiers, the designer must have a clear vision of the corporation or idea to be represented and of the audience to which the message is directed.

Graphic Design: A Career Guide and Education Directory
Edited by Sharon Helmer Poggenpohl
Copyright 1993
The American Institute of Graphic Arts


http://www.aiga.org/content.cfm/guide-w ... phicdesign

What designers need to know


What designers need to know
Designers need to master a wide variety of skills and concepts. What follows is an overview of the nine categories of investigation you can find in most design programs. Not every category is taught in every undergraduate curriculum—the time is just too short. Each program emphasizes certain subjects and teaches others more broadly.

Designers at work shows different ways to practice graphic design and serves as a counterpoint to this overview of education. A practitioner does not develop expertise in all aspects of design but selects a special area of interest in a particular kind of communication problem. One designer may love print media and therefore prefer magazine or book design. Another may have a great interest in type design or want to design exhibits. Design education is a preparation for practice, so if a certain kind of design appeals to you, think about what kind of learning supports it. Flip back and forth between this section and Designers at work as you consider how your education can prepare you for a particular kind of design practice.

Perception, visual organization, aesthetics
Designers think about visual forms and how they are put together to convey meaning. These forms are a kind of visual language. Points, lines, planes, volumes, spaces, areas, textures and colors, as well as how they are used to create symmetry, proportion and rhythm, are basic aspects of the designer’s visual vocabulary.

Form and structure analyzes positive and negative forms.

Form analysis examines how two- and three-dimensional forms create a feeling of space.

Structure and system consider various ways to create order in space. For example, grid system is one way to create a sense of harmony and order.

Visual phenomena explores the intuitive response of the audience to form, color and texture.

Composition and visual framing involves deciding what to include in an image and how elements of an image contrast with one another.

Visual abstraction identifies the key features of an object and simplifies them.

Unity of form looks at relationships among design elements, such as proportion, scale, symmetry and contrast.

Visualizing techniques
Designers need to be familiar with basic tools, techniques and processes to produce images, sketches, models and finished work. They need to use tools with skill and sensitivity. Students learn photography, various kinds of drawing, model making and diagramming as ways to develop their ideas.

Photography, although often regarded as a “truthful” rendering of the world, may convey realism or emotion, as demonstrated in these examples.

Visual translation is the process by which the essence of an image is abstracted in a drawing.

Model making explores three-dimensional forms in order to plan and prototype an exhibition or a new product.

Drawing teaches the student to look and to see as well as to put down meaningful marks on paper.

Materials, tools and technology
Technology always plays a role in the process of designing and in communicating information visually. Designers create ideas in two and three dimensions using various materials such as paper and film. They use tools such as computers, camera and airbrushes and work with the technologies of letterpress and video. The designer’s selection of materials and tools can change what an image looks like and what it says.

Blending ideas and production techniques
Designers create solutions to design problems. A part of every solution includes communicating how to get the job done technically: how to get the poster printed or how to create the mechanicals for the package design. The designer must learn to clearly express and transmit ideas and instructions as well as to receive and evaluate feedback. To this end, the student learns to specify technical instructions; to write objectives, briefs and reports; to present ideas verbally, graphically and with audiovisual support; and to listen carefully.

Message and content
Designers address communication problems. They interpret ideas and represent them with images and words. Skill in thinking about and creating meaning with images, type and symbols is essential. The ability to put a persuasive or informational perspective on an idea is also important.

Semantics is the study of how people understand words and images.

Visual metaphor studies symbols. For example, a torch can signal the abstract ideas of victory or freedom.

Persuasion and information examines how to create a memorable visual statement.

Image, symbol and sign explores the ways in which graphic marks, such as handprint or a target, communicate.

Methods, planning and management
These Bill of Rights broadsides demonstrate design planning. Seminars with legal experts helped the students study the judicial processes of the Supreme Court and specific legal decisions. Students then did additional research and experimented with typography, historical imagery and the “re-presentation” of photojournalism to determine how to present their ideas visually to a high school audience. The broadsides communicate difficult concepts by identifying specific elements in the Bill of Rights and the landmark Supreme Court decisions that anchor them.



Design methodology provides a path for the designer in the search for solutions to communication problems.

Design evaluation judges reaction to a design through a testing procedure. For example, observing a child’s reaction to a book might answer the questions: Is the book easy to read? Is it appealing? Is meaning communicated effectively?

Design management involves an overview of the process of design, including managing creativity, costs, schedules and quality.

History and criticism
Designers are part of a visual culture that includes art, architecture and design. It is not only interesting but also important to know what has gone before. Designers study the past for inspiration and to understand its themes, styles and technical developments. It is possible to trace how certain ideas, developments in the art and technological advances have influenced particular designers. Criticism helps the designer evaluate the usefulness or beauty of a design.



Design theory
Design theory explores the principles underlying what communicates and why. For example, why does one color communicate happiness to you and fear to someone from another society? What are the ways culture affects the designer and the audience? Design theory seeks to find the unifying principles—which might be intuitive or deliberate—that are the basis for all graphic design. It is where education and practice meet.

Graphic design subjects

Letterform investigations look at the forms of logotypes and letterform found in everyday objects and in typefaces.

Typography examines text messages created for information or expression.

Type and image explores the relationship between the two and the power of each to communicate in relation to the other. Type also becomes images in some applications.

Design systems serve to unify appearance and coordinate production. Visual characteristics, such as the 45-degree angle, the square on its tip, the color and the torn paper, are played out over many pieces to guarantee an easily recognizable relationship.

Symbol and identity systems seek to specifically identify an object for the public and to use that identity in all communications.

Information design clarifies data, helps orient the viewer and guides the search for what is important by establishing a clear visual hierarchy. These qualities are particularly useful in computer interface design.

Diagrams, graphs and maps distill information to make it easily understood. For instance, a three-dimensional form can show the relationships of solid, liquid and gas.

Publication and print design explores the overall structure—pacing, sequence and hierarchy of information—as well as the particular use of text and image found, for example, in the editorial material of magazines and newspapers.

Book design is concerned with both the exterior package of the book (the cover) and its interior contents (the pages).

Poster design combines words and images in a powerful public announcement, whether for an art exhibit, an election campaign, or a circus.

Film and video graphics organize ideas dynamically in time. They communicate by using images in sequence with narration, music and text.

Computer graphics explores the digital world of highly manipulated imagery.

Package design serves multiple function: to protect, display, dispense, store and announce the identity and qualities of a product.

Environmental signage and graphics helps people find their way through streets and buildings and gives clues to the nature of the environment people find themselves in.

Exhibition and display design seeks to involve an audience in exploring an idea in space and time through the use of graphics, objects, text, sound effects and participatory opportunities.

Advertising design is calculated to attract attention, make a compelling pitch to an audience and create a desire for the product.

Graphic Design: A Career Guide and Education Directory
Edited by Sharon Helmer Poggenpohl
Copyright 1993
The American Institute of Graphic Arts

http://www.aiga.org/content.cfm/guide-designersneedknow